ฟันปลอมติดแน่น

Posted on: พฤษภาคม 20, 2013, by :

ฟันปลอมติดแน่น (Fixed denture)

A fixed partial denture is a prosthetic dental restoration, or filling, that is binded permanently to tooth roots, dental implants, or natural teeth. It is used to fill in spans, or gaps, caused by one or more missing teeth. The lay term for a fixed partial denture is “bridge,” because its function is to “bridge” the space between teeth.

Cemented to the teeth on either side of the span, or the abutment teeth, fixed dental bridges are not removable by patients. There are a variety of materials used to create the filling, such as porcelain, porcelain fused to metal, or gold. Porcelain used alone is considered the safest material for use.

Different types of fixed partial dentures are available, depending on variants in anchoring to the abutment teeth, as well as methods of fabrication. Fabrication can occur directly in a patient”s mouth, through use of composite resin; however, a fixed partial denture is normally made through an indirect method of restoration. Typically, fabrication involves reducing the size of the abutment teeth in order to create room for the restoration material, as well as to maintain the natural alignment, and correct contact with the other surrounding teeth.

Fixed or Removable Dentures – Which is better?

Dentures are used in place of missing teeth for the purpose of proper chewing, protection of the gums, improvement in speech, and for aesthetic reasons. There are many types of dentures depending on their structure and design. Two of the common types include removable and fixed dentures. Although many people prefer removable dentures because they are easy to maintain and also comfortable to wear, but the choice of dentures must be made according to the condition of your mouth and some other factors. Fixed and removable dentures are types of partial dentures that are worn by patients who are missing only some of their teeth.

Other than crown and bridgework, dental implants (or artificial teeth) are also placed as permanent fixtures in the mouth. Although they are enduring and in most cases appear just like natural teeth, these artificial teeth are harder to clean than removable dentures. Since they cannot be removed, they may become susceptible to inflammation and other oral problems. Furthermore, fixed dentures or implants are quite costly as compared to partial removable dentures. Bridges and dental implants are recommended only if you have one or two missing teeth. For those who have more injured, diseased, or lost teeth, removable dentures might prove to be the best option.

You might be thinking how can partial dentures be removable? Well, these types of dentures are designed like complete dentures and are meant for edentulous dental patients. An RPD or removable partial denture consists of six parts: major connector, minor connector, direct retainer, indirect retainer, the base, and the teeth. Different types of removable dentures are produced depending on the position of missing teeth. These can be divided into four classes: bilateral free ended, unilateral free ended, unilateral bounded, and bilateral bounded. The base is made up of gum-colored plastic and the teeth are connected by a metal framework.

At first it is difficult to get used to wearing removable partial dentures and you may require some practice to place the dentures properly in the mouth. However, they are easier to clean than implants and crowns which are fixed. While patients who wear complete removable dentures find it comfortable to use them only while eating or going out, those who wear removable partial dentures may choose to keep them on for as long as they want. However, if you feel swelling or pain, you may want to let your dentist know.

Partial dentures are delicate devices and therefore should be handled with care. Your dentist will give you complete guidelines on how to clean and care for them. It is not recommended to use toothpastes for brushing these artificial teeth and you should always remove them before brushing or flossing. Partial dentures are designed to protect the remaining teeth in your mouth, but you should also take extra steps to ensure proper oral hygiene in order to prevent gum disease and tooth decay. Removable dentures may prove to be quite useful and easy to use as compared to other treatments such as permanent implants or bridges.

การบริการในด้านฟันปลอมติดแน่นได้แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆซึ่งแยกตามความต้องการของผู้เข้ารับบริการดังนี้

* ครอบฟัน (Dental crown)

* สะพานฟัน (Dental bridge)

ครอบฟัน

ครอบฟันหรือการครอบฟันเป็น การบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายหรือการแตกหักต่างๆ อันเนื่องจากการสบฟันหรือตามกาลเวลา รวมถึงฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน และฟันที่มีรูผุขนาดใหญ่มาก ให้ฟันมีความแข็งแรง และมีประสิทธิภาพการใช้งาน ได้ดังเดิม ฟันที่ใช้ในการครอบฟันทำจากวัสดุเซรามิก ซึ่งมีสีใกล้เคียงฟันมาก จึงทำให้คงภาพลักษณ์และความมีเสน่ห์ดังเดิมของคุณได้

ผู้ที่ควรเข้ารับการรักษา

การครอบฟันเหมาะสำหรับผู้ที่มีฟันหัก บริเวณปลายฟัน หรือผู้ที่มีรูผุของฟันขนาดใหญ่ หรือมีการอุดฟันไว้แล้วซึ่งมีขนาดใหญ่และอุดมานานแล้ว

รอยอุดฟันที่มีการใช้งานนาน :

ฟันที่มีการอุดมาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อระยะเวลาผ่านไป โครงสร้างของฟันจึงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และหากมีรูผุเพิ่มขึ้น อาจทำให้การอุดฟันแบบทั่วไปมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ดังนั้นการครอบรูผุขนาดใหญ่ :

ฟันที่มีรูผุขนาดลึกและใหญ่ ทำให้โครงสร้างของฟันอ่อนแอ   ซึ่งไม่สามารถอุดฟันแบบธรรมดาได้ จึงควรใช้วิธีการครอบฟันแทน เพื่อรักษาโครงสร้างของฟันเดิมไว้

ฟันร้าวหรือฟันแตกหัก :

ฟันที่ได้รับความเสียหายจนแตกหัก ไม่สามารถใช้วิธีการอุดฟันได้ เนื่องจากโครงสร้างอ่อนแอเกินไป   ดังนั้นวิธีการครอบฟันจึง เป็นวิธีที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการช่วยให้ฟันเกาะติดกันได้ดีกว่า และยังเป็นป้องกันการแตกหักที่อาจเกิดขึ้นอีกได้   หากมีการแตกหักใกล้บริเวณเส้นประสาท   ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษารากฟันก่อนเข้ารับการักษาการครอบฟัน ในบางกรณีที่ฟันมีการแตกหรือหัก อาจไม่สามารถคงไว้ได้ จึงอาจต้องมีการถอนออก และใช้วิธีการครอบฟันทั้ง ซี่เพื่อเป็นการรักษา  หากพบว่าฟันมีการแตกหัก และไม่ได้รับการรักษา  อาจทำให้เกิดแรงกระแทกบริเวณฟันที่แตกหักมากเกินไป  จนทำให้ฟันซี่นั้นมีความผิดปกติมากและแตกหักทั้งซี่ในที่สุด

ฟัน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า

หลังการรักษารากฟัน:

หลังจากการรักษารากฟันแล้ว  ฟันซี่นั้นอาจยังมีความเปราะบางอยู่ ซึ่งอาจทำให้แตกหักได้  ดังนั้นจึงควรรักษา และป้องกันฟันซี่นั้นด้วยการครอบฟัน
ส่วนฟันปลอมชนิดติดแน่น ตัวฟันทำด้วยพลาสติก หรือพอร์ซเลน แต่ปัจจุบันแบบพลาสติกจะมีลดน้อยลงไป เพราะความคงทนจะสู้พอร์ซเลนไม่ได้ การใส่ฟันปลอมแบบติดแน่นมีข้อจำกัดหลายอย่าง กล่าวคือ ต้องพิจาณาฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียง และอวัยวะปริทันต์ที่อยู่รอบๆ ว่า อยู่ในสภาพที่ดีพอเพียง ต่อการใส่ฟันปลอมติดแน่นได้หรือไม่ เพราะฟันข้างเคียงจะทำหน้าที่ เสมือนหลักยึดให้ฟันปลอมที่ใส่ติดแน่น อยู่กับที่ ฟันปลอมชนิดนี้ ไม่ต้องมีฐานวางบนเหงือก แต่มีข้อเสียที่ ไม่สามารถใส่ฟันทั้งปากได้ ซึ่งหมอฟันจะช่วยให้คำแนะนำ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกใส่ฟันปลอมที่เหมาะสม ในแต่ละคน

ส่วนการใส่ฟันแบบติดแน่น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า ต้องไปพบหมอฟันหลายครั้ง เพราะต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง เพื่อครอบฟันใหม่ และใช้เป็นหลักสำหรับยึดฟันปลอมซี่ที่จะใส่ ฟันชนิดนี้มีข้อดีที่ใส่เฉพาะซี่ จึงไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ แต่มีข้อเสียที่ราคาสูงกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ หลายเท่า การเลือกใส่ฟันปลอม จึงขึ้นกับความพร้อมของผู้ใส่ด้วยว่า จะเลือกแบบไหนดี

ฟันปลอมแบบติดแน่น ได้ชื่อว่าเป็นที่ใส่สบายที่สุด เพราะไม่ต้องถอดมาทำความสะอาด การดูแลก็เหมือนกับ การดูแลฟันจริงในช่องปากของเราเอง โดยการทำความสะอาดด้วยการแปรงฟัน ให้ทั่วถึง และการใช้เส้นไหมขัดฟัน

แต่จะมีความแตกต่างออกไป สำหรับคนที่ใส่ฟันติดแน่น แบบที่มีหลายๆ ซี่ติดกัน เพราะช่วงที่ติดกันนี้ ไม่สามารถใช้ไหมขัดฟัน แทรกผ่านซี่ฟันเข้าไปตรงๆ ได้ ทำให้มีเครื่องทำความสะอาดเฉพาะขึ้นมา เพื่อสอดแทรกเข้าไปข้างใต้ของฟันครอบ เพื่อทำความสะอาดบริเวณฐาน ของฟันครอบนั้นๆ เพราะบริเวณนั้นก็จะเป็นที่สะสมของคราบอาหาร ได้เช่นกัน

นอกจากนั้น ก็ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจดูฟันปลอมติดแน่น อย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความเรียบร้อย ของฟันที่ใส่ และของฟันจริงที่ครอบด้วย ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นต่อหรือไม่

ใส่ฟันแล้ว ต้องไปพบหมอฟันอีกไหม

การใส่ฟัน ไม่ว่าจะเป็นชนิดถอดได้ หรือชนิดติดแน่น ควรไปพบหมอฟัน เพื่อรับการตรวจเป็นระยะ โดยเฉพาะฟันปลอมชนิดถอดได้ เมื่อใส่ฟันไประยะเวลาหนึ่ง สันเหงือกมักยุบตัวลง ทำให้ฐานฟันปลอมที่ใส่ ไม่พอดีกับสันเหงือก และการสบของฟันปลอมกับคู่สบ ก็จะคลาดเคลื่อนจากที่ทำไว้ มีผลให้การเคี้ยวอาหารได้ไม่ดีนัก ส่วนฟันปลอมชนิดติดแน่น มักจะมีปัญหาเรื่องการสบกระแทก ซึ่งต้องคอยตรวจเป็นระยะเช่นกัน เพราะถ้าเกิดการสบกระแทก ก็จะมีผลให้ฟันปลอมชำรุด หรือฟันที่ครอบยึดโยก

สะพานฟัน

สะพานฟันเป็นการทำทันตกรรมเพื่อทดแทนฟันที่ สูญเสียไป โดยทำการ ครอบฟันสองซี่ที่อยู่ด้านข้างระหว่างช่องฟันก่อน จากนั้นจึงทำการทดแทน ฟันที่เสียไประหว่างช่องว่างนั้น  หากปล่อยให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ เช่น ฟันอาจล้มลงมาบริเวณช่องว่าง ทำให้เกิดปัญหาการเคี้ยว และการสบฟัน นอกจากนี้ อาจมีผลกระทบ ทำให้เกิดการปวดขากรรไกร โรคเหงือก และอาการฟันผุได้

วัสดุที่นำมาใช้ในการทำสะพานฟันมีหลายประเภทเช่นเดียวกับการครอบฟัน  ทั้งแบบที่ทำจากโลหะ ทอง เซรามิก และเซรามิกผสมโลหะ

อย่างไรก็ตาม บทบาทและหน้าที่ของฟันทุกซี่ ล้วนมีความสำคัญทั้งในการพูด เคี้ยวอาหาร และช่วยในการรักษาสภาพโครงสร้างของฟันอีกด้วย

การเตรียมฟันก่อนรับการรักษา

หากคนไข้มีฟันที่สูญเสียไป ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อหาวิธีที่ถูกต้อง และเหมาะสมแก่การรักษา หากปล่อยเอาไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา ช่องว่างที่เกิดจากฟันเสียไปนั้น อาจทำให้ฟันบริเวณด้านข้าง ล้มจนเสียโครงสร้างฟัน  และนอกจากนี้อาจทำให้เกิดโรคเหงือกได้ เนื่องจากปกติแล้ว ฟันแต่ละซี่จะช่วยเสริมและแบ่งรับน้ำหนักซึ่งกันและกัน  เวลาบดเคี้ยวหรือสบฟัน หากไม่มีซี่ใดซี่หนึ่ง อาจทำให้แรงกดบริเวณนั้น กดลงสู่เหงือกและเนื้อเยื่อบริเวณภายในปากมากเกินไป  และยังสามารถ ก่อให้เกิดอาการหรือโรคอันตรายอื่นๆตามมาได้เช่นกันซึ่งรวมไปถึงอาการต่างๆ เหล่านี้

  • ฟันตำแหน่งคู่ตรงข้ามกับฟันที่เสียไปอาจมีการหลุดออกมาได้
  • ช่องว่างระหว่างฟันที่สูญเสียไปอาจทำให้เกิดปัญหาขณะบดเคี้ยวได้
  • หากไม่เข้ารับการรักษาสะพานฟัน อาจทำให้ฟันซี่บริเวณใกล้เคียงเลื่อนมายังตำแหน่งช่องว่าง ซึ่งทำให้การดูแลรักษาและทำความสะอาดทำได้ยาก จึงทำให้เกิดอาการฟันผุและโรคเหงือกตามมา

 ประเภทของสะพานฟัน

1. สะพานฟันแบบธรรมดา (Traditional Fixed Bridges)

การทำสะพานฟันแบบธรรมดาจะประกอบด้วยการครอบฟันสองซี่ บริเวณด้านข้าง และมีการครอบฟันลอย (Pontic) เพื่อใช้ทดแทนบริเวณช่องว่างที่สูญเสียฟันไป เป็นตัวเชื่อมครอบฟันที่ยึดติดบนฟันซี่ด้านข้าง การทำสะพานฟันประเภทนี้ไม่สามารถถอดออกได้เหมือนการทำฟันปลอม

สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน

2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Resin Bonded Bridges)

ปกติ แล้ว การทำสะพานฟันด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับฟันหน้า และฟันด้านข้างของช่องว่าง ควรมีลักษณะที่สมบูรณ์ ส่วนช่องว่างของฟันที่สูญเสียไม่ควรใหญ่มากนัก  โดยการทำครอบฟันลอย ยึดติดกับแกนโลหะ  และใช้วัสดุเรซินทำคล้ายกับปีกติดด้านหลัง ของฟันด้านข้าง เพื่อไม่ให้เห็นรอยต่อของสะพานฟัน  ดังนั้นการทำสะพานฟันแบบนี้ จึงไม่ซับซ้อนในการทำสะพานฟัน ของฟันด้านข้าง ค่าใช้จ่ายจึงไม่แพงมากนักด้วย

3. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridges)

การ ทำสะพานฟันด้วยวิธีนี้ สามารถใช้ได้กับฟันบริเวณที่ไม่มีแรงกดมากนัก เช่น บริเวณฟันหน้าโดยใช้การครอบฟันลอยยึดเกาะฟัน ข้างเคียงเพียงซี่เดียวในการทำสะพานฟัน